วัดพนัญเชิงวรวิหาร

วัดพนัญเชิงวรวิหาร

วัดพนัญเชิงวรวิหาร      วัดพนัญเชิง เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี และได้รับการรักษาบูรณะอย่างดีมาจนถึงในปัจจุบัน ภายในพระอุโบสถวัดพนัญเชิงเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปไตรรัตนายก (หลวงพ่อโต หรือซำปอกง) พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอยุธยาที่ได้รับความเคารพบูชาทั้งในหมู่คนไทยและคนจีนมาอย่างยาวนาน ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา      ตามพงศาวดารเหนือระบุว่า ผู้สร้างวัดพนัญเชิงคือพระเจ้าสายน้ำผึ้ง โดยในยุคแรกนั้นชื่อของวัดแห่งนี้คือ “วัดพระนางเชิง” ซึ่งมีที่มาจากตำนานที่เล่าว่าพระนางสร้อยดอกหมาก พระราชธิดาบุญธรรมในพระเจ้ากรุงจีนได้เดินทางมาอภิเษกสมรสกับพระเจ้าสายน้ำผึ้ง ได้เสียชีวิตลง และมีการจัดพระราชพิธีศพขึ้นที่บริเวณที่ตั้งของวัดพนัญเชิง ซึ่งปัจจุบัน ภายในวัดยังมีตำหนักเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก สถานที่ซึ่งประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก หรือชาวจีนเรียกว่า จู๊แซเนี้ย      วัดพนัญเชิงเคยได้รับความเสียหายในสมัยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แต่ก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมมาโดยตลอด จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ได้มีการบูรณะพระพุทธรูปประจำวัดพนัญเชิงขึ้นใหม่หมดทั้งองค์ รวมถึงอาคารอื่นๆโดยรอบ ทำให้วัดพนัญเชิงอยู่ในสภาพดีมาจนถึงในปัจจุบัน และมีสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร      ในทุกๆปี จะมีการจัดงานสรงน้ำและห่มผ้าถวายให้องค์พระในช่วงประมาณเดือนเมษายน และผ้าผืนเก่าที่ใช้มาตลอด 1 ปีนั้น จะฉีกเป็นชิ้นเล็กๆแจกจ่ายให้ผู้คนนำไปบูชา
Read More

วัดไผ่โสมนรินทร์

วัดไผ่โสมนรินทร์ Image #1 Image #2 Image #3 Image #4 Image #5 Image #6 วัดไผ่โสมนรินทร์ ตั้งอยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำป่าสัก สร้างขึ้นเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2320 เดิมชื่อว่า "วัดนาคนิลพล" สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินเป็นที่ตั้งวัดเนื้อที่ 15 ไร่ 10 ตารางวา ในสมัยก่อนเมื่อถึงช่วงฤดูน้ำหลาก ทำให้ศาสนสถานของวัดได้รับความเสียหายหักโค่นพังทลายลงสู่กระแสน้ำไปมาก เหลืออยู่เพียงอุโบสถหลังหนึ่งที่เป็นของเก่าดั้งเดิม แต่ก็ได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.2500 วัดไผ่นั้น จากเดิมที่มีนามว่า "วัดนาคนิลพล"มาในยุคสมัยรัชกาลที่ 6 ทางราชการได้จัดให้มีการตั้งค่ายฝึกทหารซ้อมรบในเขตทุ่งบ้านเกาะ บ้านโพธิ์ บ้านมาบพระจันทร์ จึงได้มีการให้กำลังพลออกไปหาไม้ไผ่ เพื่อมาสร้างค่ายจำลองในการซ้อมรบ และได้มาพบป่าไผ่ขึ้นหนาแน่นในบริเวณวัด "นาคนิลพล"เมื่อทางราชการได้ไม่ไผ่ไปทำค่ายจำลองเกิดประโยชน์แก่ทางราชการเป็นอย่างมาก จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายรายงานให้ทรงได้โปรดทราบ จึงได้ขนานนามให้วัดใหม่ว่า "วัดไผ่" ชาวบ้านเห็นว่าเป็นนามศิริมงคลได้มาโดยในหลวงทรงประทานให้ จึงได้พร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อวัดจาก "วัดนาคนิลพล"มาเป็น "วัดไผ่" และเมื่อเวลาผ่านมาในช่วงปี พ.ศ.2490 วัดไผ่มีความทรุดโทรมเป็นอันมาก สาธุชนในตระกูลโสมนรินทร์ได้เข้ามาช่วยบูรณะวัดให้มีความเจริญขึ้นตามลำดับ จึงได้รับเกียรติจากชาวบ้านวัดไผ่ พร้อมใจกันยกย่องให้นำนามสกุล "โสมนรินทร์"มาต่อท้ายชื่อวัดไผ่ จึงมีชื่อเต็มจนถึงปัจจุบันว่า "วัดไผ่โสมนรินทร์" ศาสนสถานภายในวัดที่สำคัญได้แก่ อุโบสถ ประดิษฐานพระประธานปางมาร วิชัย และภายในอุโบสถยังมีภาพวาดสีน้ำมันเกี่ยวกับพุทธประวัติ พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปูชนียวัตถุอื่นๆ ได้แก่ พระศรีอารยเมตไตย ปางเทพ พระพุทธลีลา เป็นต้น
Read More

วัดเกาะเเก้วเกษฎาราม

วัดเกาะแก้วเกษฎาราม วัดเกาะแก้วเกษฏาราม วัดเกาะแก้วเกษฏาราม วัดเกาะแก้วเกษฏาราม วัดเกาะแก้วเกษฏาราม วัดเกาะแก้วเกษฏาราม วัดเกาะแก้วเกษฏาราม      วัดเกาะเเก้วเกษฏาราม เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก ตรงข้ามกับวัดรัตนชัย (วัดจีน) ในท้องที่ตำบลกะมัง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื้อที่วัดมีขนาด 11 ไร่ 27 ตารางวา      จากการสันนิษฐานเกี่ยวกับสถานที่ตั้งวัด กล่าวไว้ว่า เมื่อประมาณ ๓๐๐ ปีล่วงมาแล้ว ทางด้านทิศตะวันตกของ วัดเกาะแก้ว คือทางแม่น้ำป่าสักทุกวันนี้ ที่ตั้งของวัดมีอาณาเขตกว้างขวางกว่าปัจจุบันนี้มาก เนื่องจากทาง "วัดเกาะแก้ว" ตั้งอยู่ริมน้ำลำคลองดังกล่าวมาแล้ว ประกอบกับบริเวณนี้เป็นท้องคุ้ง โดยเฉพาะที่ ปากคลองข้าวสาร เมื่อถึงฤดูน้ำ น้ำจะไหลเชี่ยวอย่างรุนแรง และมีลักษณะม้วนเป็นน้ำวน จึงทำให้กระแสน้ำกัดเซาะตลิ่งพังลงไปทุกปี ๆ พระอุโบสถหลังเก่าก็ถูกน้ำกัดเซาะพังลงไปในแม่น้ำทั้งหลัง จึงทำให้บริเวณพื้นที่ของวัดแคบลง ทางวัดจึงได้รวบรวมอาณาเขตของวัดร้างบริเวณใกล้เคียงเข้าด้วยกันทำให้อาณาเขตของวัดกว้างขึ้นอีก วัดร้างที่รวมเข้ากับ วัดเกาะแก้ว ก็คือ วัดปราสาท      คำว่า "เกาะแก้ว" มีชื่อปรากฏในพระราชพงศาวดารเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิ เรียกกันหลายชื่อ เช่น คลองเกาะแก้ว มุมเกาะแก้ว ตรงบริเวณเกาะเเก้วมีถนนและกำแพง เรียกว่า ถนนมุมเกาะเเก้ว และเข้าใจว่าบริเวณนี้น่าจะเป้นเกาะหนึ่ง และเรียกว่า เกาะเเก้ว มาจนถึงทุกวันนี้       วัดเกาะแก้ว มีความเกี่ยวเนื่องกับ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มหาราช กล่าวคือ ในปีพุทธศักราช ๒๓๐๑ วัดเกาะแก้ว เคยเป็นที่ตั้งค่ายของกองทัพไทย ค่ายหนึ่งใน ๙ ค่ายด้วยกัน คือ ด้านเหนือ ตั้งค่ายที่ วัดหน้าพระเมรุ และ เพนียดคล้องช้าง ด้านตะวันออก ตั้งค่ายที่ วัดมณฑป และ วัดเกาะแก้ว (พระยาวชิรปราการ) ด้านใต้ ตั้งค่ายที่ บ้านสวนพลู (หลวงอภัยพิพัฒน์  ขุนนางจีน คุมพวกจีน บ้านในไก่…
Read More
วัดไชยวัฒนาราม

วัดไชยวัฒนาราม

วัดไชยวัฒนาราม วัดไชยวัฒนาราม วัดไชยวัฒนาราม วัดไชยวัฒนาราม วัดไชยวัฒนาราม วัดไชยวัฒนาราม วัดไชยวัฒนาราม      วัดไชยวัฒนาราม หรือ วัดชัยวัฒนาราม เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือ บนท้องที่ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือง เป็นวัดที่พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์ที่ 24 ( พ.ศ. 2173-2198) โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2173 ได้ชื่อว่าเป็นวัดที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่งในกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดที่พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์ที่ 24 ( พ.ศ. 2173-2198) โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2173 ได้ชื่อว่าเป็นโบราณสถานที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่ง ความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ วัดนี้เป็นที่ฝังพระศพของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) กวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลายกับเจ้าฟ้าสังวาลย์ซึ่งต้องพระราชอาญาโบยจนสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ      สิ่งที่น่าชมภายในวัดได้แก่ พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ เป็นปรางค์ประธานของวัดตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสและที่มุมฐานมีปรางค์ทิศประจำอยู่ทั้งสี่มุม การที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองซึ่งเป็นกษัตริย์สมัยอยุธยาตอนปลายทรงสร้างปรางค์ขนาดใหญ่เป็นประธานของวัด เท่ากับเป็นการรื้อฟื้นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้นที่นิยมสร้างปรางค์เป็นประธานของวัด เช่น การสร้างปรางค์ที่วัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ เนื่องจากพระองค์ทรงได้เขมรมาอยู่ใต้อำนาจจึงมีการนำรูปแบบสถาปัตยกรรมเขมรเข้ามาใช้ในการก่อสร้างปรางค์อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีพระระเบียงรอบปรางค์ประธาน ภายในพระระเบียงมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ผนังระเบียงก่อด้วยอิฐถือปูน มีลูกกรงหลอกเป็นรูปลายกุดั่น พระอุโบสถ อยู่ด้านหน้าของวัดภายในมีซากพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างด้วยหินทราย ใบเสมาของพระอุโบสถทำด้วยหินสีค่อนข้างเขียว จำหลักเป็นลายประจำยามและลายก้านขด และเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ทางด้านหน้าพระอุโบสถมีเจดีย์ 2 องค์ ฐานกว้าง 12 เมตร สูง 12 เมตร ซึ่งถือเป็นศิลปะที่เริ่มมีแพร่หลายตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
Read More