สถานที่เที่ยว  : ล่องเรืออยุธยา

สถานที่เที่ยว : ล่องเรืออยุธยา

วัดเกาะแก้วเกษฎาราม วัดไผ่โสมนรินทร์ วัดพนัญเชิงวรวิหาร ป้อมเพชร วัดพุทไธศวรรย์ วัดนักบุญเซนต์ยอแซฟ วัดไชยวัฒนาราม พระตำหนักสิริยาลัย วัดธรรมนิยม วัดพิชัยสงคราม วัดนางกุย วัดขุนพรม สะพานปรีดี-ธำรง
Read More

วัดนางกุย

วัดนางกุย Image #1 Image #2 Image #3 Image #4 Image #5 Image #6            วัดนางกุย เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองด้านใต้ ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก สร้างขึ้นโดยสามัญชนชื่อนางกุย เป็นผู้ที่มีทรัพย์สินเงินทอง จึงได้มาสร้างไว้ วัดนางกุยมีสิ่งที่นาสนใจหลายอย่าง ได้แก่ 1.พระประธานอายุกว่า 400 ปี 2. พระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ สมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 11-16  3. หลวงพ่อยิ้ม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่แกะสลักจากไม้สักทองและลงรักปิดทองอย่างสวยงาม เป็นพระเก่าแก่อยู่คู่กับวัดมาช้านาน (หลวงพ่อยิ้มมีประวัติตามที่เค้าเล่ากันมาว่า หลวงพ่อยิ้มได้ลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยามาติดอยู่บริเวณหน้าวัด เจ้าอาวาสและชาวบ้านจึงได้อัญเชิญหลวงพ่อยิ้มไปประดิษฐ์ฐาน ณ พระอุโบสถวัดนางกุย 4. เจดีย์ พระปรางค์ 5. แม่นางตะเคียน เจ้าแม่ตะเคียนทอง  แกะสลักจากต้นตะเคียนทอง ที่อยู่คู่วัดมานานกว่า 400 ปี ต้นตะเคียนใหญ่ได้ยืนต้นตายเมื่อประมาณปี พ.ศ.2540 เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ทางวัดฯจึงได้นำไปแกะสลักเป็นรูปแม่ตะเคียนทอง และนำมาวางไว้บนตอตะเคียนต้นเดิม เพื่อให้คนได้สักการะบูชา ขอโชคขอลาภ
Read More

วัดขุนพรหม

วัดขุนพรหม Image #1 Image #2 Image #3 Image #4 Image #5 Image #6           วัดขุนพรหม เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ไกลจากป้มเพชรมากนัก เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวว่า ศาลาการเปรียญอายุกว่า 100 ปีถล่มลงมาขณะกำลังซ่อมแซม เป็นที่น่าเสียดายมาก แต่พระประธานที่อยู่ภายในศาลาการเปรียญทั้ง 5 องค์ไม่ได้รับความเสียหายใดๆ ด้านหน้าของวัดด้านติดแม่น้ำเจ้าพระยา มีศาลพระพรหมขนาดใหญ่หันหน้าออกแม่น้ำเจ้าพระยาประดิษฐานอยู่หน้าวัดขุนพรหม ให้เราได้เคารพบูชา           ชุมชนแถบวัดขุนพรหมนั้น มีชื่อเสียงด้านการด้านผลิตผ้าพิมพ์มาตั้งแต่ในสมัยอดีต เนื่องจากผู้คนในสมัยกรุงศรีอยุธยานิยมมอบผ้าลักษณะต่างๆให้แก่กัน เพื่อแสดงถึงฐานะและตำแหน่งของผู้สวมใส่ พระเจ้าแผ่นดินก็จะทรงมอบผ้าให้เป็นบำเหน็จรางวัล แก่ข้าราชการที่ทำความดีความชอบให้แก่บ้านเมือง
Read More

วัดพิชัยสงคราม

วัดพิชัยสงคราม Image #1 Image #2 Image #3 Image #4 Image #5 Image #6           วัดพิชัยสงคราม เดิมชื่อวัดพิไชยหรือวัดพิชัย ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบล ประตูชัย อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นสมัยอยุธยา ราว ๆ พ.ศ.1900 มีบทบาทสำคัญในช่วงวิกฤตขณะกองทัพพม่ารุกคืบเข้าสู่พระนคร ราวพ.ศ.2309 พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชรในเวลานั้น เล็งเห็นว่าพม่าจวนเจียนจะยึดพระนครไว้ได้ ทหารและข้าราชการทั้งหลายต่างขวัญเสีย พระมหากษัตริย์ก็มิได้แข็งแกร่ง เห็นทีกรุงศรีอยุธยาจะเสียทีแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 แน่แล้ว ตรองได้ดังนั้นจึงรวบรวมกำลังพลตีฝ่าวงล้อมทหารพม่าข้ามแม่น้ำป่าสักไปตั้งหลักที่วัดพิชัย และได้มาตั้งพระสัตยาธิษฐานต่อหลวงพ่อใหญ่หรือพระพุทธพิชัยนิมิตร พระประธานในพระอุโบสถเพื่อขอให้เดินทางโดยปลอดภัย กลับมากอบกู้กรุงศรีอยุธยาและมีชัยชนะต่อข้าศึกซึ่งเป็นจริงในภายหลัง จนปราบดาขึ้นเป็นพระเจ้ากรุงธนบุรี คืนเอกราชแก่สยามได้สมดังความมุ่งหมาย         ย้อนไปในคราวกรุงศรีอยุธยาแตก วัดพิชัยกลายเป็นวัดร้างเสื่อมโทรมลงไป กระทั่งได้รับการบูรณะราว ๆ สมัยรัชกาลที่ 4 หรือ 5 และได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดพิชัยสงคราม เพื่อเทิดเกียรติเหล่าทหารหาญที่กอบกู้เอกราชได้สำเร็จ นอกจากเรื่องราวด้านประวัติศาสตร์แล้ว วัดพิชัยสงครามยังมีชื่อเสียงมากเรื่องพระดีศรีอยุธยาของหลวงพ่ออุดม พระครูวิชัยกิจจารักษ์ เจ้าอาวาส ผู้ร่ำเรียนวิชาพุทธาคม สายวัดประดู่ทรงธรรม และสายอยุธยาโบราณจนรู้แจ้ง ปลุกเสกวัตถุมงคลศักดิ์ศรีมากมาย เช่น เสื้อยันต์, ไม้ครู, ลูกสะกด และพิรอดแขน โดยเฉพาะตะกรุดถือเป็นวัตถุมงคลชิ้นเอกของหลวงพ่ออุดมที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง          สิ่งที่หน้าสนใจภายในวัด  ได้แก่ พระพุทธพิชัยนิมิต พระประธานในพระอุโบสถ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ศาลวีรชน พระพุทธรูปรอบอุโบสถ และภาพวาดสีเกี่ยวกับประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโดยรอบของอุโบสถ เป็นต้น
Read More

สะพานปรีดี-ธำรง

สะพานปรีดี- ธำรง      สะพานปรีดี-ธำรง เป็นสะพานคอนกรีตข้ามแม่น้ำป่าสักเข้าเกาะเมืองอยุธยา แห่งแรก เชื่อมการคมนาคมทางบกมาสู่ตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2483 สะพานยาว 168.60 เมตร สร้างเสร็จและเปิดใช้เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 ตรงกับวันเกิดของ จอมพล.ป พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยมอบหมายให้นาวาเอกถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมมาเป็นประธานพิธีเปิดสะพาน นายกรัฐมนตรีให้ชื่อสะพานนี้ว่า "สะพานปรีดี-ธำรง" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ชาวอยุธยาที่ได้เป็นผู้บริหารประเทศทั้งสองคน คือ นายปรีดี พนมยงค์ และพลเรือตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์[1] ถึงแม้ในปัจจุบัน กรมทางหลวงจะสร้างสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ สะพานสมเด็จพระเอกาทศรถ เพื่อใช้งานแทนสะพานแห่งนี้ แต่สะพานแห่งนี้ก็ยังคงความสง่างาม และยังใช้งานให้เฉพาะรถยนต์ขนาดเล็ก และรถจักรยานยนต์สัญจรอยู่ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Read More

วัดธรรมนิยม

วัดธรรมนิยม Image #1 Image #2 Image #3 Image #4 Image #5 Image #6           วัดธรรมนิยม หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "วัดยมไทย" ชาวบ้านนิยมเรียกสั้นๆ ว่า "วัดยม" ตั้งอยู่เหนือทางรถไฟ ต.หัวรอ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายพื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มติดริมแม่น้ำ การคมนาคมสะดวกทั้งทางน้ำและทางบก           การสร้างวัดครั้งแรกนั้นไม่ทราบแน่ชัด เหรียญหลวงพ่อดำจากการบอกเล่าของผู้รู้หลายท่าน กล่าวว่า เจ้าพระยายมราช (สังข์) เป็นผู้สร้าง จึงได้มีนามว่า วัดยม โดยเอาคำว่า ยม มาจากนามฐานันดรศักดิ์ คือ "ยมราช"จากการสันนิษฐาน เห็นว่า การสร้างวัดครั้งแรก คงจะมีขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น หรือไม่ก็เป็นสมัยสุโขทัย โดยมีหลวงพ่อดำ เป็นพระประธานในอุโบสถ           “หลวงพ่อดำ”  เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่เนื่องจากเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา ถูกข้าศึกทำลายเสียหาย ครั้นสมัยบูรณะวัดธรรมนิยม จึงได้บูรณะองค์หลวงพ่อดำและนำมาประดิษฐานหน้าอุโบสถหลังใหม่ เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชา วัดธรรมนิยม เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อดำ จึงได้จัดสร้างเหรียญหลวงพ่อดำ รุ่น 1 มหาเศรษฐี และรุ่นชนะภัย เพื่อให้ประชาชนผู้ที่มีจิตศรัทธา ได้นำไปบูชาเป็นสิริมงคลกับตัวเองและครอบครัว
Read More

พระตำหนักสิริยาลัย

พระตำหนักสิริยาลัย Image #1 Image #2 Image #3 Image #4 Image #5 Image #6           พระตำหนักสิริยาลัย เป็นพระตำหนักที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้ายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา ในท้องที่ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บนพื้นที่กว่า 17 ไร่ พระตำหนักหลังนี้เป็นพระตำหนักแบบไม้ยูคาลิปตัส ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลปัจจุบัน (ขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศที่ “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร”) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้นโดยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สำหรับพระราชทานและถวาย “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙” ออกแบบโดยหม่อมหลวงท้าวเทวา เทวกุล มีศิลปกรรมแบบหมู่เรือนไทยโบราณ แวดล้อมไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด
Read More
วัดนักบุญยอแซฟ

วัดนักบุญยอแซฟ

วัดนักบุญยอแซฟ Image #1 Image #2 Image #3 Image #4 Image #5 Image #6           วัดนักบุญยอแซฟ เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา          วัดนักบุญยอแซฟ ถือเป็นศูนย์กลางของคริสตชนชาวสยามในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีประวัติมาตั้งแต่ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต กับฟร็องซัว ปาลูว์ ได้เข้ามาทูลขอสร้างโบสถ์คริสต์และโรงเรียน สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงพระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งให้ ซึ่งภายหลังเป็นที่รู้จักกันในสมัยนั้นว่า “ค่ายนักบุญยอแซฟ” จนถึงการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง โบสถ์ได้ถูกเผาทำลายและถูกปล้นสะดมทรัพย์สินไปหมด บาทหลวงฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว จึงได้กลับมาบูรณะโบสถ์อีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2374 และโบสถ์หลังปัจจุบันคือในสมัยคุณพ่อแปร์โร ที่ได้ทำพิธีเสกในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2426 โบสถ์ได้ทำการบูรณะครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2547 ปัจจุบันตัวโบสถ์หลังปัจจุบันนี้มีอายุแล้วกว่า 136 ปี และได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ในปี พ.ศ. 2548 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
Read More

วัดพุทไธศวรรย์

วัดพุทไธศวรรย์ Image #1 Image #2 Image #3 Image #4 Image #5 Image #6           วัดพุทไธศวรรย์ ตั้งอยู่ในท้องที่ ตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับพระนครด้านใต้ สร้างขึ้นบริเวณที่ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอู่ทองอพยพจากเมืองอู่ทองมาตั้งอยู่ก่อนที่สร้างกรุงศรีอยุธยาที่ตรงนี้เรียกว่า “เวียงเหล็ก” หรือ “เวียงเล็ก” ครั้นเมื่อสร้างกรุงศรีอยุธยาแล้วจึง พ.ศ. 1896 สมเด็จพระเจ้าอู่ทองจึงโปรดให้สร้างวัดพุทไธสวรรย์ ขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกครั้งที่ พระองค์เสร็จมาตั้งมั่นอยู่แต่เดิม ในปัจจุบันยังเหลือซากโบราณสถานเหลืออยู่หลายอย่าง เช่น ปรางค์องค์ใหญ่ พระอุโบสถ พระวิหาร และวิหารพระนอน และตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ไปนมัสการพระพุทธรูปที่ลังกาทวีปภาพเหล่านี้ ฝีมืองามมากแต่น่าเสียดายที่ลบเลือนไปเกือบหมดแล้ว ที่มุขเด็จพระปรางค์องค์ใหญ่มีรูปพระเจ้าอู่ทอง รูปพระเจ้าอู่ทองนี้เดิมทำเป็นเทวรูปในรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2327 พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเทพพลภักดิ์ ซึ่งบัญชาการกรมพระคชบาลเสด็จออกไปซ่อมเพนียดที่พระนครศรีอยุธยาทรงพบเข้า จึงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดให้เชิญเทวรูปนั้น ลงมากรุงเทพ แล้วโปรดให้หล่อแปลงใหม่เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหุ้มเงินทั้งองค์ และโปรดให้ประดิษฐานไว้ ณ หอพระเทพบิดร ส่วนรูปที่เรียกกันว่า “พระเจ้าอู่ทอง” ในปัจจุบันเป็นของหล่อขึ้นใหม่แทนของเดิมที่เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องยืนตรงมุขข้างปรางค์ ไม่ได้ตั้งอยู่ ณ ที่เดิม วัดนี้ได้ปฏิสังขรณ์ยอดปรางค์ครั้งหนึ่งในรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2441
Read More
ป้อมเพชร

ป้อมเพชร

ป้อมเพชร Image #1 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Image #2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Image #3 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Image #4 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Image #5 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Image #6 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. เป็นป้อมที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเมืองอยุธยา  เป็นป้อมสำคัญที่สุดในบรรดา 29 ป้อม ที่ในปัจจุบันหลงเหลืออยู่ 2 ป้อม ทำหน้าที่ป้องกันข้าศึก ที่มาทางน้ำตรงมุมพระนคร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา พ.ศ. 2123 หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ป้อมเพชรยังคงเป็นด่านปราการสำคัญของเมือง พอถึงสมัยรัชกาลที่ 1 สร้างราชธานีแห่งใหม่ที่กรุงรัตนโกสินทร์ โปรดให้รื้อป้อม กำแพง นำอิฐเหล่านั้นมาสร้างเมืองใหม่ แต่ยังคงเหลือป้อมเพชรไว้ เพราะป้อมเพชรสร้างด้วยศิลาแลง จึงรื้อถอนลำบาก พระยาโบราณราชธานินทร์อธิบายไว้ว่า "จึงยังคงเหลืออยู่แต่ป้อมเพชร์กับป้อมประตูข้าวเปลือกข้างวัดท่าทราย แลเศษกำแพงที่หน้าวัดญาณเสนแห่งหนึ่ง เศษกำแพงมีประตูช่องกุฏิ์ที่ข้างวัดจีนตรงวัดพนัญเชิงข้ามแห่งหนึ่งเท่านั้น ตามสันเชิงเทินรากกำแพงที่รื้ออิฐไปราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำก็ถือเอาเป็นที่หลังบ้านของตนทั่วกัน"
Read More