วันลอยกระทง

ลอยกระทง      ประเพณีลอยกระทงนั้นมีมาแต่โบราณ โดยมีที่มาจาก คติความเชื่อหลายอย่าง เช่น เชื่อว่าเป็นการบูชาและขอขมาแม่พระคงคา เป็นการสะเดาะเคราะห์ เป็นการบูชาพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท เป็นต้น      การลอยกระทงนิยมทำกันในวันเพ็ญ เดือน 12 ของทุก ๆ ปี อันเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ประกอบกับเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง เมื่อแสงจันทร์ส่องกระทบกับท้องน้ำ ก่อให้เกิดบรรยากาศงดงาม เหมาะแก่การลอยกระทงเป็นอย่างยิ่ง และที่สำคัญที่สุด คงเป็นเพราะการกระทำการในคืนวันเพ็ญนั้น แสงจันทร์ส่องสว่าง ก่อให้เกิดความปลอดภัย และสะดวกในการทำกิจกรรม เนื่องจากในสมัยก่อน เรายังไม่มีไฟฟ้าใช้นั่นเอง      สำหรับความเป็นมาของ ประเพณีลอยกระทง กล่าวได้ว่า มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี จากหลักฐาน ศิลาจารึกหลักที่ 1 ได้กล่าวถึง งานเผาเทียน เล่นไฟ ของสุโขทัยไว้ ซึ่งนักวิชาการต่างเห็นพ้องต้องกันว่า งานดังกล่าวน่าจะเป็น งานวันลอยกระทง      นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงใน พระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน และตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งกล่าวถึงประเพณีลอยกระทงไว้ด้วย โดยได้กล่าวว่า นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกในพระร่วงเจ้า แห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์กระทง สำหรับลอยประทีปรูปดอกบัวบานขึ้น เป็นคนแรก และประทีปรูปดอกบัวบานของ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ก็ยังคงรูปแบบมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะมีความหลากหลาย ในด้านของวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นแป้งขนมปัง ใบตอง กระดาษสา ฯลฯ ก็ตาม
Read More

วัดสามปลื้ม

เจดีย์วัดสามปลื้ม เจดีย์โบราณใจกลางกรุงเก่า ในวงเวียนชุมทางคมนาคมจากถนนพหลโยธินเข้า-ออกเมืองอยุธยา อีกทั้งยังเป็นแลนด์มาร์กหนึ่งเดียวของอยุธยาที่ไม่มีใครทราบประวัติแน่ชัด พร้อมฉายา ‘เจดีย์นักเลง’ ที่ยืนเด่นตระหง่าน แม้แต่ถนนก็ยังต้องหลบให้ท่าน วัดสามปลื้ม ตั้งอยู่บริเวรถนนโรจนะ ในบริเวรที่เรียกว่า วงเวียนเจดีย์ในปัจจุบัน ไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารเกี่ยวกับประวัติการสร้างปัจจุบันเหลือเพียงเจดีย์ทรงกลม ๑ องค์ เป็นเจดีย์รุ่นเก่าก่ออิฐ ไม่สอปูนแบบเจดีย์ที่สร้างในแถบ อโยธยา สันนิฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น การเดินทาง จากกรุงเทพฯเข้าสู่ตัวเมืองอยุธยาถนนโรจนะจะเห็นเจดีย์ วัดสามปลื้มตั้งอยู่กลางถนน
Read More

วัดพระญาติการาม

     วัดพระญาติการาม เดิมเรียก วัดพบญาติ เป็นวัดที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เนื่องจากมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เช่น หลวงพ่อกลั่น หลวงพ่ออั้น หลวงพ่อเภา  และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัดนี้ คือ พระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัยที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถซึ่งสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา การเดินทาง : จากกรุงเทพฯ เข้าสู่ตัวเมืองอยุธยาถนนเส้นโรจนะถึงสี่แยกไฟแดง วัดพระญาติการามให้เลี้ยวขวาผ่านตลาดวัดพระญาติการามประมาณ 300 เมตร
Read More
ท่ามหาราช

ท่ามหาราช

ท่ามหาราช    "ท่ามหาราช"  ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา บรรยากาศนั้นชวนให้ควงแขนกันมาดื่มด่ำกับวิวสวย ๆ ช้อปเพลิน ๆ หรือกินดื่มสุดชิลตรงตามคอนเซ็ปต์ Riverside Eatery, Urban Oasis, Art & Culture Market หรือศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่อุดมไปด้วยศิลปะ และมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้คนกรุงมาสัมผัสบรรยากาศดี ๆ เพื่อเติมความสดชื่นให้กับชีวิต เรียกว่าเป็นสถานที่ซึ่งเต็มไปด้วยกลิ่นอายของวิถีชุมชนในอดีตในขณะเดียวกันก็ไม่ลืมที่จะผสมผสานความน่าสนใจเพื่อให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ด้วย บรรยากาศที่นี่จะน่าเดิน น่าเที่ยว และน่าช้อปมาก      สำหรับท่ามหาราชนั้นสามารถมาได้ทั้งทางบกและทางน้ำ แถมยังอยู่ติด ๆ กันกับท่าพระจันทร์ใต้และท่าวัดมหาธาตุด้วย เรียกได้ว่าเดินทางสะดวกไม่มีติดขัดอย่างแน่นอน เราจะเห็นเลยว่าช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ จะมีทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติเดินขึ้น-ลงท่าเรือกันไม่ขาดสาย คึกคักตลออดทั้งวัน
Read More

สะพานปรีดี-ธำรง

สะพานปรีดี- ธำรง      สะพานปรีดี-ธำรง เป็นสะพานคอนกรีตข้ามแม่น้ำป่าสักเข้าเกาะเมืองอยุธยา แห่งแรก เชื่อมการคมนาคมทางบกมาสู่ตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2483 สะพานยาว 168.60 เมตร สร้างเสร็จและเปิดใช้เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 ตรงกับวันเกิดของ จอมพล.ป พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น โดยมอบหมายให้นาวาเอกถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมมาเป็นประธานพิธีเปิดสะพาน นายกรัฐมนตรีให้ชื่อสะพานนี้ว่า "สะพานปรีดี-ธำรง" เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ชาวอยุธยาที่ได้เป็นผู้บริหารประเทศทั้งสองคน คือ นายปรีดี พนมยงค์ และพลเรือตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์[1] ถึงแม้ในปัจจุบัน กรมทางหลวงจะสร้างสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ สะพานสมเด็จพระเอกาทศรถ เพื่อใช้งานแทนสะพานแห่งนี้ แต่สะพานแห่งนี้ก็ยังคงความสง่างาม และยังใช้งานให้เฉพาะรถยนต์ขนาดเล็ก และรถจักรยานยนต์สัญจรอยู่ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Read More

สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (สะพานสาทร)

สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (สะพานสาทร)  สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือที่รู้จักในนาม สะพานสาทร เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมถนนสาทร (เขตสาทรและเขตบางรัก) กับถนนกรุงธนบุรี (เขตคลองสาน) เป็นสะพานคู่แยกขาเข้า-ขาออก และเว้นเนื้อที่ระหว่างสะพานไว้เผื่อสร้างระบบขนส่งมวลชนอื่น โดยปัจจุบัน พื้นที่ระหว่างสะพานเป็นรางรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลม และพื้นที่ในฝั่งพระนครยังเป็นที่ตั้งของสถานีสะพานตากสินอีกด้วย      สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นที่รู้กันของชาวกรุงเทพฯ ว่าประสบปัญหาการจราจรอย่างหนัก โดยเฉพาะขาเข้าฝั่งพระนคร เนื่องจากปริมาณรถมาก และเชิงสะพานฝั่งพระนครมีสัญญาณไฟจราจร จึงเป็นการปิดกั้นกระแสรถจากฝั่งธนบุรีซึ่งมีปริมาณมากให้ไหลไปได้ช้า โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วนที่มีปริมาณรถมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนตั้งอยู่ปลายสะพานทางฝั่งพระนครซึ่งในช่วงเวลาเช้าจะมีผู้ปกครองจอดรถเพื่อส่งเด็กนักเรียนเป็นจำนวนมาก และใช้เวลานานมาก ซึ่งเป็นที่มาส่วนหนึ่งของการจราจรที่ติดขัดเป็นพิเศษ
Read More
สะพานกรุงธน (สะพานซังฮี้)

สะพานกรุงธน (สะพานซังฮี้)

สะพานกรุงธน (สะพานซังฮี้)  สะพานกรุงธน หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า สะพานซังฮี้ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณถนนราชวิถี เชื่อมระหว่างแขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กับแขวงบางพลัดและแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมทางหลวงชนบท      สะพานกรุงธนเริ่มก่อสร้างเมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2497 โดยบริษัทฟูจิ คาร์แมนูแฟ็กเจอริง จำกัด ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีบริษัท สหวิศวการโยธา จำกัด เป็นผู้แทนในประเทศไทย และได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 สะพานกรุงธนประกอบด้วยโครงสะพานเหล็กยาว 6 ช่วง เชิงสะพานทั้งสองฝั่งเป็นคอนกรีต มีทางเท้าทั้งขนาบสองข้าง ช่วงลอดกลางสะพานสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 7.50 เมตร      สะพานกรุงธนเป็นสะพานที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการคมนาคมแก่ประชาชนสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแบ่งเบาความคับคั่งของสะพานพระพุทธยอดฟ้า สะพานกรุงธนสร้างเสร็จและเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2501 เรียกกันว่า สะพานซังฮี้ เพราะเริ่มต้นที่ถนนราชวิถีหรือถนนซังฮี้ และขณะที่เริ่มก่อสร้างประชาชนเรียกสะพานนี้ว่า "สะพานซังฮี้" จึงเรียกกันมาจนปัจจุบัน
Read More
สะพานพระราม 8

สะพานพระราม 8

สะพานพระราม 8  สะพานพระราม 8 เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดี่ยว ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 13 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และมูลนิธิชัยพัฒนาในปัจจุบัน) เขตบางพลัด บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร      สะพานนี้เกิดจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้งที่เสด็จทรงเยี่ยมพระอาการประชวรของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระองค์ทอดพระเนตรเห็นถึงปัญหาการจราจรของสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 โปรดเกล้าฯ ให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก 1 แห่ง เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้ารองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี และเป็นจุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริตามแนวจตุรทิศ      สะพานพระราม 8 จะช่วยเชื่อมการเดินทางระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีให้สะดวกสบายขึ้น ซึ่งจะช่วยระบายรถบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าได้ถึง 30% และบนสะพานกรุงธน อีก 20% และยังสามารถลดมลพิษทางอากาศบริเวณในเมือง 
Read More

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

 สะพานปิ่นเกล้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าระหว่างเขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับเขตบางกอกน้อย (ฝั่งธนบุรี) กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท      สะพานพระปิ่นเกล้าเป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง มีจำนวนช่องทางรถวิ่ง 6 ช่องทางจราจร ความกว้างของสะพาน 26.60 เมตร ความยาว 622 เมตร สร้างขึ้นเพื่อผ่อนคลายความคับคั่งของการจราจร โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ในการสำรวจออกแบบสะพาน และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาลไทย โดยให้เงินกู้สมทบกับเงินงบประมาณของรัฐบาลไทย เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2514 และสร้างเสร็จทำพิธีเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2516 โดยได้รับพระราชทานนามว่า "สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า" เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพื้นที่ของสะพานทางฝั่งพระนครนั้นเคยเป็นเขตของพระราชวังบวรสถานมงคล
Read More
สะพานพระพุทธยอดฟ้า

สะพานพระพุทธยอดฟ้า

สะพานพระพุทธยอดฟ้า  สะพานพระพุทธยอดฟ้า หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เชื่อมการคมนาคมติดต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร ที่ปลายถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กับปลายถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี ปัจจุบันสะพานแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท
Read More